FUTURE TENSE
1. Future Simple Tense (อนาคตแบบธรรมดา)
ณพวัสส์ ธัมพิพิธ (2550 : 328) ได้กล่าวถึงโครงสร้างของ Future Simple Tense ไว้ คือ S + will, shall + Verb 1 ซึ่งมีการใช้กับเหตุการณ์ต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ หลักการใช้ Future Simple Tense
1. ใช้กับเหตุการณ์หรือการกระทำอย่างใดอย่างหนึ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ซึ่งผู้พูดคิด
คาดหวัง หรือคาดการณ์ว่าจะเกิดขึ้น และมักจะมีคำกริยาวิเศษณ์บอกเวลาในอนาคตต่อไปนี้อยู่ในประโยค Future Simple Tense ด้วย ซึ่งได้แก่
tomorrow = วันพรุ่งนี้ tonight = คืนนี้
next time = โอกาสหน้า soon = เร็วๆ นี้
next week = สัปดาห์หน้า later = ภายหลัง
next month = เดือนหน้า immediately = ทันที เป็นต้น
ตัวอย่าง เช่น
I will go to the post office this afternoon.
ฉันจะไปที่ทำการไปรษณีย์บ่ายวันนี้
As soon as Enrique Iglesais comes, I will tell him.
ทันที่เอ็นริเก อิเกลเซียสมาถึง ฉันจะบอกเขา
Damrong will come here next week.
ดำรงจะมาที่นี่สัปดาห์หน้า
She will give you some money tonight.
เธอจะให้เงินคุณคืนนี้
I shall phone you again shortly.
ผมจะโทรศัพท์ไปหาคุณเร็ว ๆ นี้
นอกจากนี้ ประเพศ ไกรจันทร์ (2552 : 222) ยังได้ยกตัวอย่าง การตั้งคำถามในกรณีการถามในเหตุการณ์หรือการกระที่จะเกิดขึ้นในอนาคต โดยมีการคาดหวังไว้ดังต่อไปนี้
ประเภท Yes/No – Questions เช่น
Will you go home by taxi if it rains?
คุณจะกลับบ้านโดยรถแท็กซี่ใช่ไหม ถ้าฝนตก
Shall I see you tomorrow?
จะให้ผมไปหาคุณไหม พรุ่งนี้ เป็นต้น
ประเภท Wh – Question เช่น
What will you do tomorrow?
พรุ่งนี้ คุณจะทำอะไร
When we she call you?
เธอจะโทรหาคุณเมื่อไหร่ เป็นต้น
การใช้ Will/shall
ณพวัสส์ ธัมพิพิธ (2550 : 329) ได้กล่าวถึงการใช้ will/shall ไว้ดังนี้
Will/shall แปลว่า “จะ” เป็นกริยาช่วยที่บ่งบอกถึงเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ตามหลักการหรือกฎเกณฑ์ใช้ Future simple tense นี้ จะมาเสริมกริยาแท้เท่านั้น
will (จะ) ใช้กับประธานได้ทุกตัวไม่ว่าจะเป็นเอกพจน์หรือพหูพจน์ก็ตาม แต่ยกเว้นสรรพบุรุษที่ 1 คือ I กับ We เท่านั้น
He will buy sometime for me.
เขาจะซื้ออะไรบางอย่างให้ผม
ส่วน shall (จะ) ก็เช่น
We shall move into a new house soon.
เราจะย้ายเข้าสู่บ้านหลังใหม่เร็ว ๆ นี้
การใช้ will และ shall ที่อยู่นอกฎเกณฑ์ มีหลักการใช้ ดังนี้
1) will ที่เกิดจากสรรพนามบุรุษที่ 1 คือ I และ We นั้น หมายถึง การกระทำหรือ
เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนั้น เกิดจากความตั้งใจและการวางแผนของผู้พูด โดยที่เหตุการณ์ดังกล่าวจะเกิดขึ้นแน่นอน
ตัวอย่าง เช่น
I will send you some money on March 15 th.
ผมจะส่งเงินไปให้คุณในวันที่ 15 มีนาคมนี้ (แน่นอน)
We will celebrate our Songkran Day on April 13 th.
พวกเราจะฉลองวันสงกรานต์ในวันที่ 13 เมษายนนี้ (แน่นอน)
ประโยค 2 ประโยคข้างต้น ผู้พูดตั้งใจหรือวางแผนเอาไว้ว่าจะทำอะไรในอนาคตอันใกล้นี้ ในลักษณะการใช้ข้างต้นนี้ เรามักจะนำมาใช้กับการพูดมากกว่าการเขียน โดยเฉพาะอังกฤษแบบอเมริกัน ซึ่งผู้พูดมักจะใช้ will แทน shall ไม่ว่าประธานจะเป็นอะไรก็ตาม ก็คือ will ใช้แบบไม่เป็นทางการมากกว่า shall
2) shall ใช้เช่นเดียวกับ will แต่มักจะใช้เป็นทางการมากกว่า เช่น ใช้ในการสั่งการ
ของทหารหรือตำรวจ
ตัวอย่าง เช่น
They have to stay in the camp, otherwith will shall be punished.
พวกเขาจะต้องพักอยู่ในค่าย ถ้าไม่เช่นนั้นพวกเขาจะถูกลงโทษ
You have to come to work early, otherwise you shall be fired.
คุณจะต้องมาทำงานแต่เช้า ถ้าไม่เช่นนั้น คุณจะถูกไล่ออก
3) Shall ใช้เพื่อให้คำมั่นสัญญาหรือการตกลงกันตามสัญญามากกว่าอย่างอื่น คือ ผู้พูด
เป็นคนให้คำมั่นสัญญาเอง
ตัวอย่าง เช่น
If she studies hard and can pass her exam, she shall get a present from me.
ถ้าเธอเรียนหนักและสามารถสอบไล่ผ่านได้ เธอจะได้รับรางวัลจากผม
เราใช้ I will เมื่อตัดสินใจว่าจะทำบางสิ่งบางอย่างในขณะที่พูด
To be going to กับ Future simple tense
ประเพศ ไกรจันทร์ (2552 : 225) กล่าวถึง To be going to (กำลังจะ) ว่ามีการใช้ดังนี้
1) แสดงเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นแน่นอนเร็ว ๆ นี้ เนื่องจากมีสัญญาณบางอย่างบ่งชี้ ซึ่งจะ
ใช้ will แทนไม่ได้เพราะ will ใช้แสดงความคิด ความเชื่อของผู้พูด และไม่มีสัญญาณบ่งชี้หรือไม่เจาะเวลาที่เกิดขึ้น เช่น
Look at those clouds. It’s going to rain.
ดูเมฆเหล่านั้นสิ ฝนกำลังจะตก
2) แสดงความตั้งใจของผู้พูด ซึ่งต้องมี Adverb of time เสมอ ซึ่งต่างจาก Present
Continuous ที่เป็นแผนการหรือการนัดหมาย เช่น
I’m going to see Lek at 7 p.m.
ฉันตั้งใจจะไปหาเล็กตอน 1 ทุ่ม
I’m seeing Lek at 7 p.m.
ฉันนัดจะไปหาเล็กตอน 1 ทุ่ม
3) แสดงเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นในทันที
Here is my camera you asked for. I’m going to show you how to use it.
นี่กล้องถ่ายรูปที่คุณขอ ฉันกำลังจะแสดงวิธีใช้ให้คุณดูเดี๋ยวนี้
2. ใช้กับเหตุการณ์หรือการกระทำในประโยคเงื่อนไข หรือที่เรียกว่า Adverb Clause
Of Condition โดยเฉพาะอย่างยิ่งใช้ในเหตุการณ์การสมมติที่ต้องการให้เป็นไปในอนาคต โดยมีโครงสร้าง ดังนี้
If + Present Simple Tense + Future Simple Tense
ตัวอย่าง เช่น
If you come here tomorrow, I will give you the money.
ถ้าคุณมาที่นี่พรุ่งนี้ ผมจะให้เงินจำนวนนั้นแก่คุณ
If many student is sick tomorrow, the teacher will postpone the test.
ถ้านักเรียนคนใดคนหนึ่งไม่สบายในวันพรุ่งนี้ อาจารย์ท่านนั้นก็จะเลื่อนการทดสอบออกไป
If she speak English well, she will get a good job.
ถ้าเธอพูดภาษาอังกฤษเก่ง เธอก็จะได้ทำงานที่ดี
If you meet Nui, you’ll like him.
ถ้าคุณเจอหนุ่ย คุณจะชอบเขา
ความเหมือนและความแตกต่างระหว่าง will, shall “จะ” กับ be going to “จะ” คือ
วิโรจน์ สารรัตนะ (2525 : 76) ได้กล่าวไว้ว่า will, shall ใช้แสดงเหตุการณ์หรือการกระทำที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคต ซึ่งเป็นการพูดขึ้นลอย ๆ โดยที่ผู้พูดมีความคิด (thinking) ความหวัง (hoping) หรือคาดการณ์ (calculating) ว่าจะเกิดขึ้น ตัวอย่าง เช่น
I hope one day I shall go to Canada.
ผมหวังว่าสักวันหนึ่ง ผมจะไปประเทศแคนาดา
(ประโยคนี้ หมายความว่า ผู้พูดมีความหวังว่าจะไปประเทศแคนาดา แต่เหตุการณ์ที่ผู้พูดกล่าวมานั้น จะเกิดขึ้นหรือไม่ก็ยังไม่แน่นอน ซึ่งทุกคนอาจจะมีความหวังหรือความฝัน ดังกล่าว)
He thinks his children will be good looking.
เขาคิดว่าลูก ๆ ของเขาจะหน้าตาดี
(ประโยคนี้ หมายความว่า คนที่เราพูดถึงนั้น เขามีความคิดว่าลูก ๆ ของเขาเวลาโตขึ้นจะหน้าตาดี แต่เหตุการณ์ดังกล่าวจะเกิดขึ้นจริงหรือไม่นั้น ก็ยังไม่แน่นอน เพราะเป็นเพียงการคิดเท่านั้น)
She will be a teacher in the future.
เธอจะเป็นครูในอนาคต
(ประโยคนี้ หมายความว่า คนที่เราพูดถึงนั้น เธอเรียนหนังสือเพื่อคาดหรือหวังว่าจะเป็นครู แต่เหตุการณ์ดังกล่าวจะเกิดขึ้นจริงหรือไม่นั้น ก็ยังไม่แน่เพราะเป็นการคาดหวังไว้ในอนาคตเท่านั้น)
ความเหมือนและความแตกต่างของ will, shall กับ be going to อีกประการหนึ่งก็คือว่า
(A) will, shall ใช้ได้ทั้งเหตุการณ์หรือการกระทำที่เกิดขึ้นโดยความตั้งใจของผู้พูดและเกิดโดยธรรมชาติ
(B) be going to ใช้กับเหตุการณ์หรือการกระทำที่เกิดขึ้นจากการวางแผนหรือความตั้งใจเท่านั้น ซึ่งเจ้าของภาษาไม่จำเป็นต้องจำกฎเกณฑ์เหล่านี้ เพราะสามารถใช้ได้อย่างถูกต้องอยู่แล้ว ตัวอย่าง เช่น
He will go abroad next month.
เขาจะไปต่างประเทศในเดือนหน้า
He is going to go abroad on March 5 th.
เขาจะไปต่างประเทศในวันที่ 5 มีนาคม (ที่จะถึงนี้)
และจะเปรียบให้ดูว่าแบบไหนถูก ดังนี้
ถูก She will be completely eighteen next month.
เธออายุครบ 18 ปี เดือนหน้า
ผิด She is going be completely eighteen on April 15 th.
เธอจะอายุครบ 18 ปี ในวันที่ 15 เมษายน (ที่จะถึงนี้).
ถูก This month is January ; next month will be February.
เดือนนี้ คือ เดือนมกราคม เดือนหน้าก็จะเป็นเดือนกุมภาพันธ์
ผิด This month is January ; next month is going to be February.
เดือนนี้ คือ เดือนมกราคม เดือนหนาก็จะเป็นเดือนกุมภาพันธ์
หมายเหตุ สำหรับ shall ตามหลักการใช้นั้น ปกติจะใช้กับประธานที่เป็นสรรพนามบุรุษที่ 1
คือ I กับ We แต่ปัจจุบันนี้ทั้ง British English, Canadian English และ American
English (ภาษาอังกฤษที่ใช้ตามแบบประเทศอังกฤษ แบบประเทศแคนาดา และ
แบบอเมริกัน) ได้หันกลับมาใช้ Will เพื่อบ่งบอกเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต
แทน shall หมดแล้วทั้งทางด้านภาษาพูดและภาษาเขียน แต่พวกอนุรักษ์นิยมหรือ
พวกชอบทำตัวเป็นผู้ดี ก็ยังใช้ shall กับสรรพนามบุรุษที่ 1 คือ I กับ We อยู่ และ
ถ้าเป็นประโยคชักชวนหรืออ้อนวอน ปัจจุบันก็ยังใช้ shall อยู่
การใช้ (be) going to แทน will, shall
เราสามารถใช้ (be) going to + Verb 1 แทน will, shall ในกรณีต่อไปนี้
1) ใช้ (be) going to + Verb 1 เพื่อแสดงความตั้งใจ (Intention) แทน will, shall ได้
เช่น
I am going to write to Anong this evening.
เย็นวันนี้ผมตั้งใจว่าจะเขียนจดหมายถึงอนงค์
(ประโยคนี้มีความหมายเท่ากับ I shall write………)
We are going to buy a house in Bangkok next year.
พวกเราตั้งใจว่าจะซื้อบ้านสักหลังไว้ที่กรุงเทพปีหน้า
(ประโยคนี้มีความหมายเท่ากับ We shall buy………)
2) ใช้ (be) going to + Verb 1 เพื่อแสดงกการคาดคะเน (Suggestion) แทน will,
shall ได้ เช่น
I think it is going to rain.
ผมคิดว่าฝนคงตก (แน่นอน)
(ประโยคนี้มีความหมายเท่ากับ ………it will rain)
I am afraid that the repairs to our house are going to cost a lot of money.
ผมเกรงว่าการซ่อมแซมบ้านของเราคงจะใช้เงินเป็นจำนวนมาก (อย่างแน่นอน)
(ประโยคนี้มีความหมายเท่ากับ ……… the repairs………will cost)
3) ใช้ (be) going to + Verb 1 เพื่อแสดงข้อความที่เชื่อว่าเป็นจริงเช่นนั้นโดย
ปราศจากข้อสงสัย (Inevitability) แทน will, shall ได้ เช่น
My wife is going to have a baby.
ภรรยาของผมจะมีลูกแล้ว ( = My wife will have a baby)
กรณีที่ห้ามใช้ (be) going to แทน will, shall
สภาวะธรรมชาติทั่วไปแล้ว เมื่อมีข้อบังคับก็ต้องมีข้อยกเว้น เพราะฉะนั้น (be) going to ก็เช่นเดียวกัน เมื่อใช้แทน will, shall เพื่อแสดงอนาคตกาลได้ ไม่ได้หมายความว่าจะใช้แทนได้ในทุกกรณีเสียไปหมด ยัง...ยังมีข้อยกเว้น ที่ไม่อาจนำเอา (be) going to มาใช้แทน will, shall ได้นั่นคือ
1) เหตุการณ์ที่เป็นอนาคตอันแท้จริง (Pure Futurity) ซึ่งจะต้องเกิดขึ้นตามธรรมชาติโด
หลีกเลี่ยงไม่ได้ ไม่สามารถใช้ (be) going to แทน will, shall ได้ คงใช้เฉพาะ will, shall ตลอดไป เช่น
วันนี้เป็นวันพุธที่ 21 พรุ่งนี้จะเป็นวันที่ 22
ผิด Today is the 21 st ; tomorrow is going to be the 22 nd.
ถูก Today is the 21 st ; tomorrow will be the 22 nd.
(วันนี้เป็นวันที่ 21 และพรุ่งนี้เป็นวันที่ 22 นั้นถือว่า เป็นอนาคตที่จะต้องเป็นไปตามธรรมชาติของมันเอง แม้จะตั้งใจ จงใจ สมัครใจหรือไม่ก็ตาม มันก็เป็นโดยธรรมชาติของมันอยู่อย่างนั้น กรณีเช่นนี้ใช้ (be) going to แทน will, shall ไม่ได้)
2) ห้ามใช้ (be) going to แทน will, shall ในประโยคเงื่อนไขที่เชื่อมด้วย if คงใช้
เฉพาะ will, shall อย่างเดียว เช่น
ผิด I am going to do this for you if you give me twenty bath.
ถูก I shall (will) do this for you if you give me twenty bath.
ผมจะช่วยทำสิ่งนี้ให้คุณ ถ้าคุณให้เงินผม 20 บาท
3) ห้ามใช้ (be) going to แทน will, shall กับกริยาแสดงการรับรู้ คงใช้เฉพาะ will,
shall เท่านั้น (Verb แสดงการรับรู้ ได้แก่ know, understand, remember, forget, like, love, etc.) เช่น I will understand what you said.
(อย่าใช้ I am going to understand what you said.)
ผมจะต้องเข้าใจสิ่งที่คุณพูด
การใช้ (be) going to ในประโยคแสดงอดีตกาล
สำราญ คำยิ่ง (2550 : 291-294) กล่าวถึง (be) going to ในประโยคแสดงอดีตกาล ไว้ดังนี้ S + Was, were + going to + Verb 1
(be) going to นำมาใช้ในรูปอดีตกาล เพื่อแสดงว่า “การกระทำนั้นไม่ได้เกิดขึ้นเลย” หมายความว่า ในอดีตที่ผ่านมาตั้งใจจะทำสิ่งนั้น ๆ แต่แล้วก็ไม่ได้ทำดังที่ตั้งใจเอาไว้ จะด้วยเหตุผลใด ๆ ก็แล้วแต่ที่มาขัดขวาง เช่น
We were going to play tennis yesterday, bud it rained.
เรา (ตั้งใจ) จะเล่นเทนนิสเมื่อวานนี้ แต่ฝนได้ตกลงมา
(เราเลยไม่ได้เล่นเทนนิสดังที่ตั้งใจไว้)
หมายเหตุ รูป be going to ส่วนมากนิยมเป็นภาษาพูดมากกว่าภาษาเขียน
3. ใช้ร่วมกับกริยาที่ไม่นิยมใช้ในรูป Continuous Tense และกับกริยาต่อไปนี้ ได้แก่
Assume (สมมุติ) be afraid (เกรงว่า)
be sure (แน่ใจว่า) believe (เชื่อ)
dare say (กล้าพูด) doubt (สงสัย)
expect (คาดว่า) hope (หวัง)
know (ทราบ) suppose (สมมุติ,คิด)
think (คิด) wonder (สงสัย)
เพื่อใช้แสดงความคิดเห็น การสันนิษฐาน และการคาดหลังเหตุการณ์ในอนาคต
และกับกริยาวิเศษณ์บางตัว เช่น perhaps (บางที) ,possibly (อาจจะ) , probably (อาจจะ) , surely , (แน่นอน) นั้น ณพวัสส์ ธัมพิพิธ. (2550 : 327)ได้กล่าวไว้ยกตัวอย่าง เช่น
I think I’ll stay (at) home tonight.
ฉันคิดว่าคืนนั้นจะอยู่บ้าน
I’ll pay you back as soon as I have some.
ฉันจะคืนเงินให้คุณทันทีที่ฉันมีบ้าง
We’ll probably go to Pattaya this Saturday.
พวกเราอาจจะไปพัทยาวันเสาร์นี้
การใช้ will และ shall กับสรรพนามบุรุษที่ 1
1. Will แสดงความตั้งใจ = intent to ส่วน shall ใช้กับการกระทำที่ไม่เกี่ยวกับความ
ตั้งใจหรือความปรารถนาของผู้พูด
I’ll go with you. = I intend to go with you.
ฉัน (ตั้งใจ) จะไปกับคุณ
I shall be 25 next month.
ฉันจะมีอายุครบ 25 ปีในเดือนหน้า
We shall know the truth as soon as he arrives.
ฉันจะรู้ความจริงทันทีที่เขามาถึง
Shall ยังอยู่ในรูปประโยคคำถามที่เป็นการให้ข้อเสนอแนะ การขอคำแนะนำ และใน Question Tag ที่ขึ้นต้นด้วย Let’s
Shall we have the garden done?
เราให้คนมาทำสวนให้ดีไหม?
What shall I do with this cheque?
ฉันจะทำอย่างไรดีกับเช็คใบนี้
Let’s go swimming, shall we?
เราไปว่ายน้ำกันเถอะดีไหม?
2. Shall ใช้แสดงความมุ่งมั่นแทน will เมื่อต้องการให้มีน้ำหนักขึ้น
We shall win this race.
พวกเราจะชนะการแข่งขันครั้งนี้แน่นอน
ดังนั้น โดยทั่วไปแล้วจะใช้ will เพื่อหลีกเลี่ยงความยุ่งยาก
4) แสดงเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นแน่นอนเร็วๆ นี้ เนื่องจากมีสัญญาณบางอย่างบ่งชี้ ซึ่งจะ
ใช้ Will แทนไม่ได้เพราะ will ใช้แสดงความคิด ความเชื่อของผู้พูด และไม่มีสัญญาณบ่งชี้หรือไม่เจาะเวลาที่เกิดขึ้น ตัวอย่าง เช่น
Look at those clouds. It’s going to rain.
ดูเมฆเหล่านั้นสิ ฝนกำลังจะตก
5) แสดงความตั้งใจของผู้พูด ซึ่งต้องมี Adverb of time เสมอ ซึ่งต่างจาก Present Continuous ที่เป็นแผนการหรือการนัดหมายนั้น ณพวัสส์ ธัมพิพิธ (2550 : 329) ได้กล่าวไว้ว่า I’m going to see Lek at 7 p.m.
ฉันตั้งใจจะไปหาเล็กตอน 1 ทุ่ม
I’m seeing Lek at 7 p.m.
ฉันนัดจะไปหาเล็กตอน 1 ทุ่ม
6) แสดงเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นในทันที
Here is my camera you asked for. I’m going to show you how to use it.
นี่กล้องถ่ายรูปที่คุณขอ ฉันกำลังจะแสดงวิธีใช้ให้คุณดูเดี๋ยวนี้
ที่มา
ที่มา
ประเพศ ไกรจันทร์. (2552). เรียนรู้หลักไวยากรณ์อังกฤษง่ายนิดเดียว. พิมพ์ครั้งที่ 8.
กรุงเทพฯ : ศยาม.
ณพวัสส์ ธัมพิพิธ. (2550). ไวยากรณ์อังกฤษ อย่าคิดว่ายาก. พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพฯ :
จุลาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วิโรจน์ สารรัตถะ. (2525). English for study and Entrance. กรุงเทพฯ : อักษรบัณฑิต.สำราญ คำยิ่ง. (2550). Advanced English Grammar for High Learners. กรุงเทพฯ :
วี.เจ.พริ้นติ้ง.
ขอบคุณมากค่ะ มีประโยชน์มากเลย
ตอบลบเยอะดี แต่ถ้าเวลาจดก็ทำไม่ไหวเหมือนกัน แต่ก็เข้าใจมากค่ะ
ตอบลบขอบคุณมากเลยค่ะ