FUTURE PERFECT CONTINUOUS TENSE

4.  Future Perfect Continuous Tense (อนาคตของกาลสมบูรณ์กำลังกระทำอยู่)  

โครงสร้างของ  Future  Perfect  Continuous  Tense  คือ  S + will, shall + have + been + Verb 1 เติม  ing  +  …..
อนาคตกาลสมบูรณ์กำลังกระทำอยู่ คือ การเน้นถึงเหตุการณ์เดียวในอนาคต ซึ่งจะเกิดก่อนเหตุการณ์อื่นในอนาคต  ซึ่ง  จรรยา  อินทร์อ๋อง  (2549  :  144)  ได้กล่าวไว้มีการใช้ดังนี้
หลักการใช้   Future Perfect Continuous Tense  ดังนี้
1)            ใช้เน้นการกระทำที่เริ่มขึ้นและดำเนินอยู่ ณ เวลาที่ระบุแน่นอนในอนาคต  และจะ
ยังคงดำเนินต่อไปอีก
                        I  will  have  been  working  for  two  hour  by  the  time  the  manager  comes  in  the office.
                        ฉันกำลังจะทำงานครบสองชั่วโมง  ก่อนที่ผู้จัดการเข้ามาในสำนักงาน
                        By  the  end  of  this  year,  Somsri  will  be  have  been  teaching  here  for  ten  year.
                        เมื่อสิ้นสุดปีนี้  สมศรีจะสอนที่นี่ครบ 10 ปี
                        By  six  o’clock,  I’ll  have  been  typing  the  report  ten  hours.
                        พอถึง 6 โมงเย็น   ฉันจะพิมพ์รายงานฉบับนี้ครบ 10 ชั่วโมง
                        By  eleven  o’clock  I  shall  have  been  working  for  three  hours.
                        เมื่อถึงเวลา  11 นาฬิกา  ผมจะได้ทำงาน  (ติดต่อกันมา)  แล้วเป็นเวลาครบ 3 ชั่วโมง  จะเห็นว่าประโยคนี้คล้ายกับประโยคที่ว่า
                        By  eleven  o’clock  I  shall  have  worked  for  three  hours.
                แต่ประโยคหลังนี้ไม่ได้เน้นถึงการทำงานติดต่อกันมาเป็นเวลา 3 ชั่วโมง  อาจจะทำแล้วหยุดไว้สักระยะระยะแล้วก็จะทำต่ออีกก็ได้  แต่เมื่อรวมเวลาแล้วก็ได้ 3 ชั่วโมงเช่นกัน  ส่วนประโยคแรกทำโดยไม่มีการหยุดเลย
                        When  you  arrive,  he  will  have  been  waiting  for  you  two  hours.
                        เมื่อคุณมาถึง  เขาคงจะได้รอคอยคุณ (ติดต่อกันมา) เป็นเวลาครบ 2 ชั่วโมงแล้ว
                       (เน้นถึงการรอคอยโดยไม่หนีไปไหน) 
        By  the  end  of  this  year,  he’ll  have  been  teaching  students  for  ten  year.
        เมื่อสิ้นสุดปีนี้ เขาจะสอนนักเรียนเป็นเวลา 10 ปี
        By  the  end  of  this  month,  he  will  have  been  training  dog  for  twelve  years.
        พอสิ้นเดือนนี้  เขาจะฝึกสุนัขมาเป็นเวลา 12 ปี
        แต่ถ้าเราแบ่งจังหวะการกระทำ  เช่น  โดยการบอกจำนวน  ต้องใช้  Future  Perfect  Tense แทน ตัวอย่าง  เช่น
                        By  the  end  of  this  year,  he’ll  have  taught  1000  students.
                        เมื่อสิ้นสุดปีนี้  เขาจะสอนนักเรียนทั้งหมด 1000 คน
                       
        By  the  end  of  this  month,  he  will  have  trained  500  dogs.
                        พอสิ้นเดือนนี้  เขาจะฝึกสุนัขมาทั้งหมด 500 ตัว
ประเภท  Yes/No-Question ซึ่งประเพศ  ไกรจันทร์  (2552  :  234)  ได้ยกตัวอย่างไว้  เช่น
                        Will  Mr. Winai  have  been  teaching  for  40  years  when  he  retires  next  month?
                        นายวินัยจะสอนหนังสือได้  40  ปีแล้วใช่ไหม เมื่อเขาปลดเกษียณเดือนหน้า
                        Will  Tom  have  been  living  in  Bankok  for  5  years  before  he  g oes  back  to America  next  week?
                        ทอมจะอาศัยอยู่ในกรุงเทพฯ  ได้  5 ปีแล้วใช่ไหม ก่อนที่เขาจะกลับไปอเมริกาสัปดาห์
หน้า
                        Will  you  have  been  working  here  for  12  year  by  the  time  you  resign  next  month.
                       คุณจะทำงานได้  12 ปีแล้วใช่ไหม ก่อนที่คุณจะลาออก เดือนหน้า
ประเภท  Wh-Question เช่น
                       How  long  will  you  have  been  living  in  Thailand  before  you  go  back  to  England next  month?
                        คุณจะอาศัยอยู่เมืองไทยนานเท่าไร  ก่อนที่คุณจะกลับไปประเทศอังกฤษ  เดือนหน้า
                        How  long  will  she  have  been  working  here  by  the  time  she  resign  next  month?
                       เธอจะทำงานอยู่ที่นี่นานเท่าไร  ก่อนที่เธอจะลาออกสัปดาห์หน้า
                       How  long  will  Mr. Winai  have  been  teaching  when  he  retires  next  month?
                       นายวินัยจะสอนหนังสือได้นานเท่าไร  เมื่อเขาปลดเกษียณเดือนหน้า  เป็นต้น
ที่มา

จรรยา  อินทร์อ๋อง.    (2549).    ไวยากรณ์อังกฤษเพื่อการแข่งขัน.    พิมพ์ครั้งที่  3.    กรุงเทพฯ 
                   ศูนย์ภาษา  I.O.U.